Unknown Unknown Author
Title: “ไข่ชา” อาการของชายที่ปั่นจักรยานไม่ควรมองข้าม
Author: Unknown
Rating 5 of 5 Des:
“ไข่ชา” อาการของชายที่ปั่นจักรยานไม่ควรมองข้าม ปัจจุบันการปั่นจักรยานเป็นกิจกรรมที่หนุ่มๆ นิยมกันมาก ไม่ว่าจะหนุ่ม ฮิปสเตอร์ หนุ่มเฮลท์...

“ไข่ชา” อาการของชายที่ปั่นจักรยานไม่ควรมองข้าม


ปัจจุบันการปั่นจักรยานเป็นกิจกรรมที่หนุ่มๆ นิยมกันมาก ไม่ว่าจะหนุ่ม ฮิปสเตอร์ หนุ่มเฮลท์คอนเชียสทั้งหลาย  ต่างปั่นจักรยานเป็นงานอดิเรกกันทั้งนั้น  แต่นักปั่นทั้งหลายต้องประสบกับอาการ “ไข่ชา” ขึ้น ทำให้กังวลว่าอาการไข่ชา” นั้น จะส่งผลอะไรกับน้องชายของเรารึป่าว ?  วันนี้จึงพาท่านมารู้ถึงสาเหตุของอาการไช่ชากับก่อนครับ
ไข่ชา  เกิดจาก?
a
จริงๆ แล้ว น้ำหนักของตัวเราเองจะถูกกดทับบริเวณเชิงกรานของตูดครับ  และเบาะนั่งที่ดีจะต้องช่วยกระจายน้ำหนักของผู้ขับได้ดี  แต่ปัญหา “ไข่ชา” เกิดจากการที่เราเลือกเบาะนั่งไม่รองรับสรีระของเราเองทำให้น้ำหนักกดทับไปยัง “ฝีเย็บ”  (ใครที่นึกถาพฝีเย็บไม่ออก ฝีบริเวณกึ่งกางระหว่างใต้ต่ออัณฑะก่อนถึงรูทวารหนัก จะมีจุดเชื่อมบริเวณนั้นหละครับ) ทำให้เลือด และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงไข่ กับน้องชายไม่เพียงพอนั่นเองครับ เหตุก็เพราะว่า บริเวณฝีเย็บเป็นบริเวณศูนย์รวมเส้นประสาทและเส้นเลือด (จุดเสียวอีกจุดหนึ่ง อิอิ)  นั่นเอง
มีการทดสอบหนึ่งครับที่แสดงถึงการกดทับของเบาะ  โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบระดับออกซิเจนที่ปลายน้องชายหลังจากปั่นจักรยานบนเบาะที่แตกต่างกันสี่แบบ ตามรูป
s
แบบ A) คือ narrow, heavily padded seat
แบบ B คือ narrow seat with medium padding and V-shaped groove in the saddle nose
แบบ C คือ wide unpadded leather seat
แบบ D คือ women’s special wide seat with medium padding and no saddle nose
โดยวัดระดับออกซิเจนในท่ายืน และหลังจากนั่งปั่นจักรยานบนเบาะจักรยานทั้งสี่แบบ  ผลการศึกษาพบว่า เบาะแบบ D มีการลดลงของออกซิเจนที่ปลายองคชาติน้อยที่สุด รองลงมาเป็นแบบ C และแบบ B โดยแบบ A มีการลดลงของออกซิเจนที่ปลายองคชาติมากที่สุด  ซึ่งก็หมายถึง แบบ D ดีที่สุด

ซึ่งก็มีการศึกษาอื่นสนับสนุนอีกครับว่า แบบที่มีจมูกยื่น เป็นแบบที่ไม่สมควรนำมีใช้ในการขับขี่เช่นกัน เพราะจะมีการกดทับเส้นประสาทมากกว่า สังเกตจากรูปทั้งสงรูปให้ดีนะครับ
A.  รูปแสดงตำแหน่งของเส้นเลือดและเส้นประสาทที่อาจถูกกดทับจากเบาะที่มีส่วนยื่นด้านหน้า
Screen Shot 2558 12 02 at 1.38.08 PM
(ภาพจากDepartment of Health and Human Services, Centers for Disease Control and Prevention, National Institute for Occupational Safety and Health. No-nose saddles for preventing genital numbness and sexual dysfunction from occupational bicycling. Available at: http://www.cdc.gov/niosh/blog/ nsb042209_bikesaddle.html (accessed April 22, 2009)
ลักษณะเบาะจักรยานแบบไม่มีส่วนยื่นคล้ายจมูก เส้นเลือดและเส้นประสาทมีโอกาสถูกดทับน้อยกว่า และมีการกระจายน้ำหนักสองข้างได้ดีกว่า
Screen Shot 2558 12 02 at 1.38.14 PM

(ภาพจากDepartment of Health and Human Services, Centers for Disease Control and Prevention, National Institute for Occupational Safety and Health. No-nose saddles for preventing genital numbness and sexual dysfunction from occupational bicycling. Available at: http://www.cdc.gov/niosh/blog/ nsb042209_bikesaddle.html (accessed April 22, 2009).
           จะสังเกตเห็นว่า เบาะในแบบที่มีจมูกจะเกิดการกดทับบริเวณฝีเย็บที่มากกว่า เพราะไม่มีการกระจายน้ำหนัก  ในทางตรงกันข้ามครับ หากเป็นเบาะที่ไม่มีจมูกจะมีการกระจายน้ำหนักได้ดีกว่า ทำให้ฝีเย็บไม่ถูกกดทับเท่าไหร่ครับ
ดังนั้น จึงมีการศึกษาทางการแพทย์รายงานว่า เมื่อเปลี่ยนมาใช้เบาะแบบที่ไม่มีจมูกยื่นออกมาเป็นระยะเวลา 6 เดือน อาการชาบริเวณฝีเย็บ อวัยวะเพศลดลงอย่างมีนัยสำคัญครับ และข้อมูลนี้ก็ช่วยให้นักปั่นสบายใจขึ้นว่า อาการที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นถาวร และดีขึ้นได้เมื่อมีการแก้ไขตามสาเหตุที่ถูกต้อง
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจนในขณะนี้ว่ามีผลหรือไม่ เช่น ความนุ่ม แข็งของเบาะแต่ละชนิด รวมถึงลักษณะกางเกงที่ผู้ปั่นสวมใส่เวลาปั่นจักรยาน ลักษณะพื้นผิวของถนนที่ขับขี่ครับ
และในบทความหน้า  ผมมีวิธีเลือกเบาะนั่งและวิธีการถนอมไข่ของนักปั่น  อย่างถูกวิธีกันครับ และมาเฉลยว่า ปั่นนานๆ เสี่ยงเป็นหมันหรือไม? อิอิ

อ้างอิงจาก ศูนย์ต่อมลูกหมาก โรงพยาบาล รามา


About admin

Advertisement

แสดงความคิดเห็น

 
Top